วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ที่มาของจริยธรรม


ที่มาของจริยธรรม   

              คำว่า จริยธรรม” แยกออกเป็น จริย + ธรรม ซึ่งคำว่า จริย หมายถึง ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมายหลายประการ เช่น คุณความดีหลักคำสอนของศาสนาหลักปฏิบัติ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น "จริยธรรม" จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า หลักแห่งความประพฤติ” หรือ แนวทางของการประพฤติพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้คำนิยามว่า "จริยธรรม" คือ ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติศีลธรรมกฎศีลธรรม               โดยทั่วไปจริยธรรมมักอิงอยู่กับศาสนา ทั้งนี้เพราะคำสอนทางศาสนามีส่วนสร้างระบบจริยธรรมให้สังคม ดังคำกล่าวของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ว่าจริยธรรมของสังคมไทยขึ้นอยู่กับระบบศีลธรรมของพุทธศาสนา ศาสนาพุทธกำหนดหลักในการปฏิบัติในชีวิตประจำไว้อย่างไร นั่นหมายความว่า ได้กำหนดหลักจริยธรรมไว้ให้ปฏิบัติอย่างนั้น” แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า จริยธรรมอิงอยู่กับหลักคำสอนทางศาสนาเพียงอย่างเดียว แท้ที่จริงนั้นจริยธรรมหยั่งรากอยู่บนขนบธรรมเนียมประเพณี โดยนัยนี้ บางคนเรียกหลักแห่งความประพฤติอันเนื่องมาจากคำสอนทางศาสนาว่า "ศีลธรรม" และเรียกหลักแห่งความประพฤติอันพัฒนามาจากแหล่งอื่น ๆ ว่า "จริยธรรม"                 จริยธรรมไม่แยกเด็ดขาดจากศีลธรรม แต่จริยธรรมจะมีความหมายกว้างกว่าศีลธรรม เพราะศีลธรรมเป็นหลักคำสอนทางศาสนาที่ว่าด้วยความประพฤติปฏิบัติชอบ ส่วนจริยธรรม หมายถึง หลักแห่งความประพฤติปฏิบัติชอบอันวางรากฐานอยู่บนหลักคำสอนของศาสนา ปรัชญาและขนบธรรมเนียมประเพณีอีกทั้งจริยธรรมมิใช่กฎหมาย ทั้งนี้เพราะกฎหมายเป็นสิ่งบังคับให้คนทำตาม และมีบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน ดังนั้น สาเหตุที่คนเคารพเชื่อฟังกฎหมายเพราะกลัวถูกลงโทษ ในขณะที่จริยธรรมไม่มีบทลงโทษ ดังนั้นคนจึงมีจริยธรรมเพราะมีแรงจูงใจ แต่อย่างไรก็ตาม กฎหมายก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับจริยธรรมในฐานะเป็นแรงหนุนจากภายนอกเพื่อให้คนมีจริยธรรมจากนิยามที่ยกมานั้น สามารถประมวลสรุปความได้ว่า จริยธรรม คือ แนวทางของ การประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นคนดี เป็นประโยชน์สุขของตนเองและส่วนรวม               กล่าวโดยสรุป จริยธรรมก็คือ สิ่งที่มีอยู่แล้วในตัวมนุษย์ โดยธรรมชาติ ซึ่งจะต้องพัฒนาขึ้นโดยอาศัยกฎเกณฑ์ความประพฤติที่มนุษย์ควรประพฤติที่ได้จากหลักการทางศีลธรรม หลักปรัชญา วัฒนธรรม กฎหมายหรือจารีตประเพณี เพื่อประโยชน์สุขแก่ตนเองและสังคม นอกจากนี้ จริยธรรมยังใช้เป็นแนวทางประกอบการติดสินใจเลือกความประพฤติ/การกระทำที่ถูกต้องเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ด้วย                ลักษณะการปฏิบัติและลักษณะความคิดที่จัดเป็นคุณธรรมนั้นมีสภาพเป็นอยู่มากมาย จึงได้มีการจัดกลุ่มคุณธรรมหลักขึ้น เพื่อสะดวกในการทำความเข้าใจลักษณะคุณธรรมในระดับต่าง ๆ ดังลักษณะคุณธรรมที่ได้รวบรวมมาจากผล การประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับจริยธรรมไทย ในส่วนของนโยบายและการพัฒนาเด็กระยะยาวด้านจริยธรรม จากแนวคิดของสาโรช บัวศรี และพระราชวรมุนี ดังต่อไปนี้๑. การรักความจริง การไม่พูดปดและไม่ฉ้อฉล การรักษาคำมั่นสัญญา ๒. การไม่เบียดเบียนกัน การรักษาสิทธิและความชอบธรรมของผู้อื่น ๓. ความละอายใจต่อการกระทำความผิดหรือความชั่วใด ๆ ๔. ความรู้จักพอ ความไม่โลภ ไม่หลง และการจัดการชีวิตตนโดยสันโดษ ๕. การรู้จักบังคับใจตนเอง ๖. ความรับผิดชอบต่อสังคม ๗. ความเสมอภาค ๘. ความเสียสละ ๙. ความซื่อสัตย์ ๑๐. ความกล้า ๑๑. การมีแนวความคิดกว้าง ๑๒. ความสามัคคี ๑๓. ความเข้าใจในศาสนา และการใช้หลักธรรมะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ๑๔. ความมีเมตตา กรุณา และการให้อภัย ๑๕. ความพากเพียรและอดทน ๑๖. การรู้จักค่าของการทำงาน ๑๗. การรู้จักค่าของทรัพยากร ๑๘. ความมีสติสัมปชัญญะ ๑๙. การรู้จักใช้ปัญญาแก้ไขปัญหา ๒๐. การมีสัมมาอาชีวะ ๒๑. การมีคาวรธรรม ๒๒. การมีสามัคคีธรรม ๒๓. การมีปัญญาธรรม ๒๔. ความไม่ประมาท ๒๕. ความกตัญญูกตเวที ๒๖. การรักษาระเบียบวินัย ๒๗. การประหยัด ๒๘. ความยุติธรรม ๒๙. การมีมรรค ๘ ซึ่งจัดเป็น ๓ สาย คือ ศีล สมาธิ และปัญญา          ในข้อเท็จจริงจะเห็นได้ว่า การจัดลักษณะคุณธรรมที่กล่าวมานั้นมีบางส่วนที่ซ้ำซ้อนกัน ดังนั้นจะได้จัดกลุ่มคุณธรรมหลักเป็น ๑๙ กลุ่ม คือ๑. ความมีเหตุผล (rationality) ๒. ความซื่อสัตย์สุจริต (honesty) ๓. ความอุตสาหะ หรือการมีความตั้งใจอันแน่วแน่ (resolution) ๔. ความเมตตากรุณา (compassion) ๕. ความเสียสละ (devotion) ๖. ความสามัคคี (cooperation) ๗. ความรับผิดชอบ (responsibility) ๘. ความกตัญญูกตเวที (gratitude) ๙. ความประหยัด (moderation) ๑๐. ความรู้จักพอ (satisfaction) ๑๑. ความมีสติสัมปชัญญะ (awareness) ๑๒. ความมีระเบียบวินัย (discipline) ๑๓. ความยุติธรรม (fairness) ๑๔. ความอดทนอดกลั้น (endurance) ๑๕. ความเคารพนับถือผู้อื่น (consideration) ๑๖. ความไม่เห็นแก่ตัว (selflessness) ๑๗. ความถ่อมตัว (modesty) ๑๘. ความกล้าทางคุณธรรม (courage) ๑๙. ความเคารพตนเอง (self-respect) 



จริยธรรมของพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนา มีหลักคำสอนที่สามารถสรุปได้ว่าเป็นทั้งปรัชญา เป็นทั้งทฤษฎี (ปริยัติ) และเป็นทั้งวิถีชีวิตที่ทุกคนสามารถนำไปเป็นหลักในการดำรงชีวิตของตนได้อย่างเหมาะสมและมี คุณค่า
ขณะเดียวกันพระพุทธศาสนามีหลักการที่สามารถอธิบายได้ในแง่ของศาสนาและแง่ของจริยธรรม ในแง่ของจริยธรรม พุทธศาสนาเสนอแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับจริยธรรมในเรื่องวิเคราะห์ และ เสนอแนะหลักการดำรงชีวิตอย่างหนึ่งว่าเป็นหนทางเดียว (เอกายโน มัคโค) ที่จะช่วยให้บรรลุถึง ความดีสูงสุด (Summun Bonum) หรือเป้าหมายสุดยอดที่พึงปรารถนาอันเป็นแดนเกษมให้สันติ สุขอันสูงส่ง มีความสมบูรณ์ทางศีลธรรม และเป็นแดนที่บุคคลมีความรู้จริง เห็นจริง (วิชชา)
ในพระพุทธศาสนานั้น ได้บัญญัติความหมายของจริยธรรมว่า “จริยธรรมมาจากคำว่า “พรหมจรรย์” ซึ่งในทางพระพุทธศาสนาหมายถึง “มรรค” คือ วิธีการปฏิบัติสายกลาง ประกอบ ด้วยองค์ 8 ประการ บางครั้งเรียกว่า “ไตรสิกขา” คือ การศึกษา 3 ประการ อันได้แก่ ศีล สมาธิ และ ปัญญา” (บุญมี แท่นแก้ว, 2541 : 2)
มรรคประกอบด้วยองค์ 8 (อริยมรรคมีองค์ 8) ได้แก่
1.สัมมาทิฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ ได้แก่ เห็นในอริยสัจ 4 มีทุกข์ สมุทัย มรรค และนิโรธ
2.สัมมาสังกัปปะ ดำริโดยชอบ ได้แก่ ดำริจะออกจากาม 1 ดำริในอันไม่พยาบาท 1 ดำริในอันไม่เบียดเบียน 1
3.สัมมาวาจา เจรจาชอบ ได้แก่ เว้นจากกายทุจริต 3 อย่าง
4.สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ ได้แก่ เว้นจากายทุจริต 3 อย่าง
5.สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นจากการเลี้ยงชีวิตในทางที่ผิด
6.สัมมาวายามะ เพียรชอบ ได้แก่ เพียรในที่ 4 สถาน เช่น เพียรทำความดี เป็นต้น
7.สัมมาสติ ระลึกชอบ ได้แก่ ระลึกในสติปัฏฐาน 4 อย่าง มีการระลึกในร่างกาย เป็นต้น
8.สัมมาสมาธิ ตั้งใจไว้ชอบ ได้แก่ เจริญฌาน 4 เช่น ปฐมฌาน เป็นต้น
อริยมรรคมีองค์ 8 นี้ เป็นทางสายกลางที่เรียกว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” เป็นทางสายเดียว (เอกมคคํ) เหมือนเชือกเส้นเดียวมี 8 เกลียว ดังนั้นผู้ปฏิบัติจะต้องปฏิบัติไปพร้อมกัน และอาจจะ ย่อลงในไตรสิกขาคือ ธรรมะที่จะต้องศึกษาและปฏิบัติตาม 3 ประการ ได้แก่ ศีล (สีลสิกขา) 1 สมาธิ (สมาธิสิกขา) 1 ปัญญา (ปัญญาสิกขา) 1 และเมื่อปฏิบัติได้ถูกต้อง ย่อมถึงความเป็นพระอริยะ คือ ผู้ประเสริฐ ผู้ไกลจากกิเลสได้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น