วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

เบญจขันธ์ หรือ ขันธ์ 5

                 เบญจขันธ์ หมายถึง กองแห่งรูปธรรมและนามธรรมห้าหมวดที่ประชุมกันเข้าเป็นชีวิต
ขันธ์ 5 ประกอบด้วย รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
1. รูปขันธ์ กองรูป ส่วนที่เป็นรูป ร่างกาย พฤติกรรม และคุณสมบัติต่าง ๆ ของส่วนที่เป็นร่างกาย ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด
2. เวทนาขันธ์ กองเวทนา ส่วนที่เป็นการเสวยรสอารมณ์ ความรู้สึก สุข ทุกข์ หรือเฉย ๆ
เมื่อรับรู้เกิดความพอใจ มนุษย์เรียกว่า สุข เมื่อรับรู้เกิดความไม่พอใจ มนุษย์เรียกว่า ทุกข์ เมื่อรับรู้แล้วไม่ทุกข์ไม่สุข เรียกว่า อุเบกขา
3. สัญญาขันธ์ กองสัญญา ส่วนที่เป็นความกำหนดหมายให้จำอารมณ์นั้น ๆได้ ความกำหนดได้หมายรู้ในอารมณ์ 6 เช่น เสียงดัง รูปสวย กลิ่นหอม รสหวาน ร้อน และดีใจ
4. สังขารขันธ์ กองสังขาร ส่วนที่เป็นความปรุงแต่ง สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลาง ๆ คุณสมบัติต่าง ๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ให้เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต
5. วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ ส่วนที่เป็นความรู้แจ้งอารมณ์ ความรู้อารมณ์ทางอายตนะทั้ง 6
อายตนะแปลว่า บ่อเกิดหรือสื่อสัมพันธ์ บ่อเกิดหรือสื่อสัมพันธ์ ของอายตนะทั้งสองแล้วเกิดอารมณ์ขึ้น อายตนะมีตาเป็นต้น เมื่อสัมผัสกับรูปแล้ว ก็ติดต่อสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องถึงประสาทเข้ามาหาใจ แล้วใจก็รับเอามาเป็นอารมณ์ ถ้าดีก็ชอบใจ สนุก เพลิดเพลิน ถ้าไม่ดีก็ไม่ชอบใจ คับแค้นเป็นทุกข์โทมนัสต่อไป
อายตนะ ประกอบด้วย อายตนะภายใน 6 และอายตนะภายนอ 6


ลักษณะของผู็ที่มีจริยธรรม

1.           มีมารยาทดี
2.          ชอบช่วยเหลือผู้อื่น
3.           มีความซื่อสัตย์สุจริต
4.          มีความเพียรพยายาม
5.           มีความเมตตา
6.          มีความกตัญญู
7.          มีความประหยัด
8.          มีความรู้
9.          มีความเคารพนับถือต่อผู้อื่น
10.      กล้าทำในสิ่งที่ดี
11.      ความไม่เห็นแก่ตัว
12.      มีความรับผิดชอบ
13.      มีความขยัน
14.      มีความเสียสละ
15.      รู้จักพอประมาณตน
16.      รู้จักวางตนให้สมกับฐานะ การะ เทศะ
17.      เป็นผู้ที่มีศิล 5 บริสุทธิ์
18.    มีสติปัญญา
19.    รู้ถูกรู้ผิด
20.    มีสมาธิ
21.    มีความคิดไตรตรอง
22.    มีความละอาแก่ใจ
23.    มีความกรุณา
24.    มีความยึดมั่นถือมั่นในตนเอง
25.   มีความไม่ถือตัว
26.   มีความรู้แจ้งเกี่ยวกับเบญจขันธ์ 5




อ้างอิง : http://www.sainampeung.ac.th/chalengsak/units/unit1/chapter%205/teachings/khan5.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น